วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Lifestyle Disease : โรคร้ายจากการใช้ชีวิต

lifestyle disease

Lifestyle Disease : โรคร้ายจากการใช้ชีวิต (รักลูก)
โดย: มรกต เอื้อวงศ์
 
          คุณและสมาชิกในบ้านใช้ชีวิตแบบนี้หรือเปล่าคะ?

           … สูบบุหรี่
           ... ดื่มเหล้า
           ... กินตามใจปาก
           ... ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง นอนดึก พักผ่อนน้อย
           ... ไม่ออกกำลังกาย
 
          ถ้าใช่...แม้ไม่ทั้งหมด คุณกำลังเผชิญความเสี่ยง และอาจกำลังส่งมอบเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายให้ลูกน้อย จาก Lifestyle disease หรือ Non-communicable disease (NCDs) แล้วค่ะ

แล้ว Lifestyle disease คืออะไรล่ะ
 
          Lifestyle disease หรือ Non-communicable disease (NCDs) คือ โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดของผู้คนทั่วโลก โดยในปี 2008 มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุ NCDs ถึง 68 เปอร์เซ็นต์

          นอกจากนั้น ยังทำให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น พบว่ามีผู้เสียชีวิตที่อายุน้อยกว่า 60 ปีมากกว่า 9 ล้านคน ปี 2008 จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกทั้งหมด 57 ล้านคน เสียชีวิตจาก NCDs ถึง 36 ล้านคนหรือเกือบ 2 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งสาเหตุหลักมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 48 เปอร์เซ็นต์ มะเร็ง 21 เปอร์เซ็นต์ โรคปอดเรื้อรัง 12 เปอร์เซ็นต์ และเบาหวาน 3 เปอร์เซ็นต์ค่ะ

          ในประเทศรัสเซีย NCDs คือสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ชายเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ และมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในผู้หญิง ขณะที่ประเทศอินเดียพบผู้เสียชีวิต 8 ใน 10 คน เกิดจาก NCDs ซึ่งองค์การอนามัยโลกคาดว่าโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดจะเป็นสาเหตุใหญ่ที่คร่าชีวิตชาวอินเดียในปี 2020 ตามมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองอุดตัน และมะเร็ง

          ส่วนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขประมาณการณ์ว่าในปี 2554 คนไทยเจ็บป่วยประมาณ 12.5 ล้านคน เสียชีวิต 78,000 คน โดยครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเหล่านี้มากจากโรคเรื้อรัง ทั้งโรคหัวใจ หลอดเลือดและเบาหวานค่ะ (ข้อมูลจาก นสพ.ข่าวสด 3 มิ.ย. 54)
 

ความเครียด

สถานการณ์โรคร้ายจาก Lifestyle disease

           มะเร็ง เป็นโรคที่ครองแชมป์คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ติดต่อกัน 10 ปีซ้อน โดยพบว่ามีแนวโน้มการป่วยและเสียชีวิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2552 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง กว่า 56,058 ราย ซึ่งมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุด คือ มะเร็งตับ มะเร็งหลอดลม มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักค่ะ (ข้อมูลจาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 29 มิ.ย. 54)
 
           โรคหัวใจและหลอดเลือด ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จากสถิติทั่วโลกพบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจาก พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในปี 2545 พบว่ามีคนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 32,896 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 4 คน
 
           โรคปอดเรื้อรัง โรคระบบทางเดินหายใจและโรคปอด พบได้บ่อยและเนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง จึงทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการรักษา อีกทั้งยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ มาจากการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะการสูบต่อเนื่องติดต่อกัน 10-20 ปี จะทำให้เป็นโรคนี้ได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ค่ะ
 
           เบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ คาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยเบาหวาน 220 ล้านคน ซึ่งเชื่อว่าหากไม่มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 54 หรือ 439 ล้านคน (ข้อมูลจาก www.manager.co.th)
 

สูบบุหรี่

Lifestyle ก่อโรค

          การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน เปรียบเหมือนทางด่วนที่ก่อให้เกิดโรคร้ายได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วค่ะ เพราะ Lifestyle หลาย ๆ อย่างที่หลายคนคุ้นเคยก็ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งสิ้น เช่น
 
           สูบบุหรี่ ปัจจุบันพบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ปีละประมาณ 5 ล้านคน และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุนี้ เพิ่มเป็นปีละประมาณ 8 ล้านคน

          ส่วนในประเทศไทย ผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2552 พบคนไทยสูบบุหรี่ 10.9 ล้านคน เป็นชาย 10.3 ล้านคน หญิง 5.4 แสนคน โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่กว่า 42,000 ราย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรคมะเร็งไม่ต่ำกว่าปีละ 100,000 คน (ข้อมูลจาก นสพ.ฐานเศรษฐกิจ)
 
           ดื่มเหล้า ผลสำรวจของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เมื่อปี 2553 พบว่าเยาวชนไทยและผู้หญิงไทยดื่มเหล้ามากขึ้นเป็นเท่าตัว และพบว่าคนไทยมีพฤติกรรมการดื่มเหล้าและอยู่ในภาวะติดเหล้ามากถึง 5.3 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและผู้หญิง
 
           ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย 3 อย่างนี้มักจะมาด้วยกันค่ะ ด้วยเหตุผลที่ว่าทำงานหลายชั่วโมงจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อนอยู่แล้ว จะเอาเวลา เอาเรี่ยวแรงจากไหนไปออกกำลังกาย จนเกิดปัญหาสุขภาพ
 
ปรับ Lifestyle ปลอดภัยจากโรค

          แม้ว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่เราเคยปฏิบัติกันมาจนเคยชิน จะสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้มากมาย แต่วิธีป้องกันและแก้ไขก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเท่านั้นค่ะ ซึ่งการปรับ Lifestyle เพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้น ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะต่อตนเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อสมาชิกในครอบครัวอีกด้วยค่ะ อาทิ

           สามารถดูแลคนที่รักอย่างสามี ภรรยา ลูก รวมถึงสมาชิกคนอื่น ๆ ของครอบครัวได้อย่างเต็มที่

           เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ และการใช้ชีวิตให้ปลอดภัยจากโรค

           มีเวลาที่จะทำกิจกรรมดี ๆ ร่วมกัน เช่น การออกกำลังกาย แทนที่จะไปนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

           ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะหากสุขภาพแข็งแรงก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ซึ่งบางโรคต้องใช้เวลานานในการรักษา ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

สุขภาพดี

เคล็ดลับเพื่อการมีสุขภาพดี

           1.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมกับวัย หลีกเลี่ยงอาหารที่จะเป็นโทษต่อร่างกาย ก็จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีแล้วล่ะค่ะ
 
           2.อารมณ์ดี สุขภาพดี เป็นสิ่งที่สามารถบอกสภาวะของร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องดูแลควบคู่กันไปค่ะ หากสุขภาพกายดีสุขภาพจิตใจก็จะดีไปด้วย ในทางกลับกันหากสุขภาพจิตดี สุขภาพกายก็จะดีไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นเรื่องของอารมณ์และจิตใจจึงเป็นสิ่งที่ต้องดูแลให้แข็งแรงไม่แพ้ร่างกายค่ะ
 
           3.ออกกำลังกาย สร้างสมอง เป็นวิธีดูแลสุขภาพง่าย ๆ ที่ทำได้แทบทุกที่ แถมยังประหยัด และช่วยเสริมสร้างความรักความผูกพันให้สมาชิกในครอบครัวได้อีกด้วยค่ะ เช่น การเล่นกีฬาร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
 
          การเริ่มต้นใหม่ไม่มีคำว่าสายค่ะ หากคุณมี Lifestyle ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็เพียงแค่ปรับเปลี่ยนเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า หากดีอยู่แล้วก็ปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น เพียงเท่านี้คุณและคนที่คุณรักก็จะห่างไกลโรคร้ายจาก Lifestyle disease แล้วค่ะ
      อ้างอิง : 
http://health.kapook.com/view37052.html

15 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหน้าอกของคุณผู้หญิง

ผู้หญิง

          
อวัยวะส่วนไหนของคุณผู้หญิงกันนะ ที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่มากที่สุด ..คงจะมี "หน้าอก" เป็นหนึ่งในคำตอบ (อันดับต้น ๆ) อยู่ด้วยแน่นอนเลยทีเดียวล่ะ เมื่อคุณผู้หญิงให้ความสำคัญกับมันมากขนาดนี้ วันนี้เราก็เลยขอหยิบ 15 เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับหน้าอก จาก ออนไลน์สคูลส์ เว็บไซต์ของประเทศลุงแซมที่ให้ความรู้ออนไลน์แบบฟรี ๆ แถมยังสนุกอีกต่างหาก มาฝากกัน ไปดูกันเลยจ้า

           1. น้ำหนักของหน้าอกทั้งสองข้างจะอยู่ที่ราว ๆ 500 กรัม ประกอบด้วยไขมันคิดเป็น 4-5% ของไขมันทั้งหมดในร่างกาย


           2. หน้าอกของผู้หญิงก็เหมือนกับเจ้าจุ๊ดจู๋ของคุณผู้ชาย สามารถตั้งชันได้เมื่อได้รับการกระตุ้น


           3. ความสูงของยอดอกเมื่อตั้งชันแล้ว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3/8 นิ้ว สูงกว่าเอาเหรียญควอเตอร์ (25 เซ็นต์) ของสหรัฐฯ มาซ้อนกันถึง 5 เหรียญเสียอีก


           4. ขนาดหน้าอกโดยเฉลี่ยของผู้หญิงอเมริกันในปี 2010 อยู่ที่ 36C (ในขณะที่เมื่อ 15 ปีที่แล้ว อยู่ที่ 34B)

หน้าอก

                5. แต่หากย้อนกลับไปในยุคกลางแล้วล่ะก็ หน้าอกขนาด 36C ไม่ได้ถือว่าน่าดึงดูดเลย เพราะในยุคนั้นสาวอกห่างต่างหาก ที่จัดว่าสวยเซ็กซี่


           6. ย้อนกลับไปในปี 2008 ที่อเมริกามีหน้าอกที่ผ่านการศัลยกรรมอัพไซส์มากถึง 307,230 คู่ คว้าอันดับหนึ่งของการศัลยกรรมพลาสติกในปีนั้นไปครอง โดย 30% เป็นคนไข้อายุระหว่าง 20-29 ปี , อายุ 30-39 ปี จำนวน 35% และ 40-54 ปี จำนวน 28%


           7. การศัลยกรรมหน้าอกกินเงินคุณผู้หญิงไปได้ราว 3,700 ดอลลาร์ (109,335 บาท) สำหรับการเสริมหน้าอกครั้งแรก และมักมีการกลับไปทำศัลยกรรมหน้าอกเพิ่มเติมอีกในภายหลัง เพื่อปรับให้ได้รูปทรงที่ต้องการ รวมทั้งลบริ้วรอยที่หน้าอกด้วย


           8. แต่อย่างไรก็ดี ในปี 2008 มีคุณผู้หญิง 20,967 ราย ที่เข้ารับการผ่าตัดเพื่อเอาหน้าอกส่วนที่ถูกต่อเติมจากศัลยกรรมออกไป ส่วนคุณผู้ชายก็ไม่น้อยหน้า มีการผ่าตัดเพื่อลดขนาดหน้าอกถึง 17,902 ราย ในปีเดียวกัน


           9. ในยุคสมัยที่ผ่านมา มีวัสดุหลายประเภทถูกใช้ในการศัลยกรรมหน้าอก ตั้งแต่ งาช้าง, ลูกบอลแก้ว, ยางก้อนกลม, กระดูกอ่อนของวัว, โพลีเอสเตอร์ จนมาถึงการฉีดเสริมด้วยสารซิลิโคน ซึ่งแต่ละอย่างก็ล้วนส่งผลข้างเคียงทั้งนั้น

ผู้หญิง


               10. ชีย์ลา เฮอร์ชีย์ หญิงชาวบราซิลเป็นผู้ที่ได้รับการบันทึกสถิติจาก กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด ว่าเป็นผู้ที่มีหน้าอกขนาดมหึมาที่สุด โดยเธอใส่เสื้อชั้นในคัพ 38KKK  และสารที่ใช้เสริมหน้าอกของเธอมีปริมาณรวมแล้วถึง 10,000 ซีซี หรือราว ๆ 2.6 แกลลอน เลยทีเดียว

           11. อาภรณ์ชิ้วจิ๋วที่เรียกว่า เสื้อชั้นใน นั้น ถือกำเนิดขึ้นเพื่อโอบอุ้มกระชับสรีระของผู้หญิงตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 7 แต่กระนั้นกว่ามันจะถูกผลิตออกมาเพื่อจำหน่ายในเชิงการค้าก็เมื่อล่วงมาถึงปี 1930 ส่วนในตอนนี้ธุรกิจเสื้อชั้นในทำเงินถึงปีละ 16 ล้านดอลลาร์ เลยทีเดียว

           12. แต่ถ้าคุณไม่ชอบใส่เสื้อชั้นใน และต้องการที่จะเปลือยอกอย่างถูกกฏหมายแล้วล่ะก็ ต้องอยู่ที่รัฐอย่าง ฮาวาย, เท็กซัส, โอไฮโอ, นิว ยอร์ก และ เมน เท่านั้น (ส่วนใครที่คิดจะไปเปลือยอกที่ชายหาดในดูไบแล้วล่ะก็ ระวังจะโดนจับเข้าซังเต ซึ่งต้องโทษนาน 6 เดือน เลยเชียวล่ะ)

           13. เมื่อเปรียบเทียบ นมแม่ VS นมวัว .. ผลการตัดสินปรากฏว่า "นมแม่ชนะขาดลอย" เพราะทั้งหวานกว่า มีวิตามินอีสูงกว่า มีธาตุเหล็กมากกว่า มีกรดไขมันที่เป็นประโยชน์เยอะกว่า ทั้งยังมีโซเดียมที่ไม่ค่อยจะดีต่อสุขภาพน้อยกว่านมวัวด้วยล่ะ

           14. ราว 5% ของทารกแรกเกิด-2 เดือน ทั้งเพศหญิงและชาย พบว่าจะมีน้ำนมไหลออกมา ซึ่งน้ำสีขุ่น ๆ นี้เรียกว่า น้ำนมแม่มด  (witch's milk)

           15. การสูบบุหรี่ ทำให้หน้าอกหน้าใจ "ยาน" .. เพราะสารเคมีบางอย่างในบุหรี่ทำลายอีลาสตินในผิว ส่งผลให้หน้าอกคล้อย และหย่อนยานไปด้วยนั่นเอง


          แค่เรื่องของหน้าอกหน้าใจ ก็มีอะไรให้เรียนรู้เต็มไปหมด ..ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ จริง ๆ นะเนี่ย อิอิ ;)

              อ้างอิง : http://health.kapook.com/view37154.html

6 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องสุขภาพกับหน้าหนาว

ไข้หวัด

6 ความเชื่อเรื่องสุขภาพกับหน้าหนาว คิดผิดคิดใหม่ได้แล้ว (Lisa)

          อากาศ หนาวแบบนี้ อาจทำเอาร่างกายหลาย ๆ คนย่ำแย่ไปได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถึงเวลาต้องมาดูแลสุขภาพตัวเองกันแล้วล่ะ แต่ถ้าใครมีความเชื่อเรื่องสุขภาพในหน้าหนาวดังที่เรานำมาบอกต่อไปนี้ ขอให้คิดใหม่ได้แล้วนะคะ


ความเชื่อ 1 : คุณเป็นหวัดเพราะอากาศหนาว


          คุณอาจเคยได้ยินคำเตือนว่าเวลาอยู่ในสภาพอากาศหนาวนาน ๆ อาจทำให้คุณเป็นหวัด เรื่องนี้ไม่จริงเลย ไม่ว่าอากาศจะหนาว หัวจะเปียกหรือไม่เปียก การออกไปสัมผัสอากาศคือสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณทำได้ในการป้องกันหวัด โดยที่สภาพอากาศไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยเลย หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียซึ่งมักจะแพร่กระจายในฤดูหนาวได้ง่าย เนื่องจากคนมักจะรวมกันอยู่ในอาคารหรือตามสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า


ความเชื่อ 2 : ซุปร้อน ๆ จะช่วยบรรเทาหวัดได้


          คุณแม่อาจเคยต้มซุปไก่ให้เรากินแก้หวัด แต่มันช่วยได้จริงมั้ยช่วยได้สิ เพราะซุปไก่นั้นมีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน ด้วยการรวบรวมเม็ดเลือดขาวให้ต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย และจำเป็นอย่างมากในการฟื้นฟูอาการ ในขณะที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าเครื่องดื่มร้อนอื่น ๆ ช่วยระบบภูมิคุ้มกันได้หรือไม่ แต่การดื่มของเหลวร้อน ๆ อย่างเช่น ชา ก็จะช่วยลดอาการของหวัดบรรเทาปวดไซนัสและเจ็บคอได้ด้วย


ความเชื่อ 3 : เราต้องการเวลานอนมากขึ้นในฤดูหนาว


          ยอมรับเสียเถิดว่าการที่ดวงอาทิตย์ขึ้นช้าและตกเร็ว ทำให้คุณอยากฝังตัวอยู่ในที่นอนนานกว่าเดิม แต่ความรู้สึกง่วงนั้นไม่ได้ หมายความว่าคุณจะนอนมากว่าเดิมได้นะ ความรู้สึกอยากซุกในที่นอนอุ่น ๆ เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เราไม่ต้องการนอนมากไปกว่าที่จำเป็น ในทางกลับกัน การเข้านอนเร็วกว่าเดิมก็ไม่ใช่เรื่องแย่ เพียงแต่มีการศึกษาบ่งชี้แล้วว่า การนอนนานเกินไป ก็อาจทำให้คุณรู้สึกเพลียในวันถัดมาได้



ผิวพรรณ

ความเชื่อ 4 : คุณไม่ต้องใช้ครีมกันแดดในฤดูหนาว

          เพราะว่ามันหนาวเย็น คุณก็เลยนึกว่าไม่ต้องใช้ครีมกันแดดอย่างนั้นล่ะสิ ความจริงแล้วไม่ใช่เลย ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหน พระอาทิตย์กับรังสียูวีก็ยังอยู่เหมือนเดิม สิ่งที่คุณต้องการก็คือ ครีมกันแดดที่กันทั้งรังสี UVA และ UVB โดยมี SPF อย่างน้อย 30 และมีส่วนผสมของสังกะสีหรือไทเทเนียม


ความเชื่อ 5 : ผิวแห้งเป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว


          อากาศหนาว ๆ เย็น ๆ แห้ง ๆ ผิวคุณอาจจะแห้งจนตกสะเก็ด คัน ไม่น่ามอง ฯลฯ แต่คุณควรปล่อยมันไม่แน่นเหรอ? อย่าเลย ผิวที่แห้งเกินขีดจำกัดอาจเป็นประตูสู่การติดเชื้อ ดังนั้น จึงจำเป็นมากที่จะต้องให้ผิวชุ่มชื้นเสมอ เมื่อผิวแห้งมันจะทำให้เกิดรอยแตกเล็ก ๆ ที่จะทำให้เชื้อโรคเข้ามาได้ อย่าลืมทามอยสเจอไรเซอร์วันละสองครั้งหลังอาบน้ำในตอนเช้าและก่อนจะเข้านอน ในบริเวณใดก็ตามที่ผิวมักจะแห้ง เช่น ขา และมือ


ความเชื่อ 6 : หน้าหนาวระวังภูมิแพ้


          มีทั้งข่าวร้ายและข่าวดี สำหรับผู้เป็นภูมิแพ้ทั้งหลาย หากคุณแพ้เกสรดอกไม้ก็เป็นไปได้ว่าคุณจะไม่เป็นอะไรมากนัก แต่ถ้าคุณแพ้ตัวกระตุ้นในอาคาร อย่างเช่น ฝุ่นละอองจากมูลสัตว์ หรือปลวก อาการภูมิแพ้ของคุณก็อาจแย่ขึ้น นี่หมายความว่าการออกไปข้างนอกอาจไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้คุณคัดจมูกน้ำมูกไหล แต่เป็นการอยู่ในบ้านต่างหากที่ทำให้อาการของคุณแย่ลง

       อ้างอิง : http://health.kapook.com/view36315.html

พลุระเบิด – หูอื้อ หูดับ เสียงดังแค่ไหนเรียกว่าดัง

หนวกหู

พลุระเบิด – หูอื้อ หูดับ เสียงดังแค่ไหนเรียกว่าดัง (ไทยโพสต์)
   อ้างอิง: http://health.kapook.com/view36801.html
 
          จาก อุบัติเหตุพลุระเบิดในคืนงานฉลองเทศกาลตรุษจีนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสจำนวนหนึ่ง และมีผู้ที่หูดับจากเสียงดังของพลุที่ระเบิด


          ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จึงได้เผยแพร่ข้อเขียนเกี่ยวกับ "พลุระเบิด – หูอื้อ หูดับ เสียงดังแค่ไหนเรียกว่าดัง" เพื่อเตือนและให้ทุกคนได้ป้องกันไว้ล่วงหน้า ว่า เสียงที่ดังมากไม่ว่าจะเป็นเสียงจากพลุ ประทัด ปืน เสียงปิดประตูแรง ๆ เสียงที่ดังเกินไปในสถานท่องเที่ยวยามราตรี ในโรงภาพยนตร์ หรือแม้เสียงที่ตะโกนใส่หู ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดแรงอัดอากาศกระแทกเยื่อแก้วหูได้ทั้งสิ้น


          ทางการแพทย์เรียกการบาดเจ็บจากเสียงดังนี้ว่า noise trauma และเมื่อต้นเดือนเดียวกันนี้ก็เพิ่งมีข่าวครึกโครม กรณีที่เจ้าหน้าที่ที่สนามบินสุวรรณภูมิได้รับบาดเจ็บจากการถูกตบบ้องหูสอง ข้าง ทำให้หูอื้อและแก้วหูอักเสบ กรณีหลังแตกต่างจากกรณีพลุระเบิดตรงที่ไม่ได้เกิดจากเสียงดังกระแทกแก้วหู แต่เกิดจากแรงอัดอากาศกระแทกแก้วหูอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งจะเรียกการบาดเจ็บจากแรงอัดอากาศนี้ว่า barotraumas (บา-โร-ทรอ-มา) คำว่า "baro" หมายถึง ความดัน ส่วนคำว่า "trauma" ก็คือการบาดเจ็บ


เสียงดังแค่ไหนเรียกว่าดังมาก และควรหลีกเลี่ยง


          ..หูคนเราไม่ควรรับเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล (เสียง 85 เดซิเบล คือเสียงที่ดังจนพูดกันไม่รู้เรื่องในระยะห่าง 1 เมตร) ถ้าท่านทำงานในโรงงานที่เสียงดัง 85 เดซิเบล ท่านไม่ควรทำงานเกิน 8 ชั่วโมง และควรหยุดพักอยู่ในที่เงียบทุก ๆ 5 วันทำงาน และควรใช้เครื่องป้องกันเสียง


          เสียงดังเกิน 90 เดซิเบล ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง หรือไม่ควรสัมผัสเลย ส่วน เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงในสถานบันเทิงเริงรมย์ เสียงเครื่องบินขณะเครื่องออก ดังได้ถึง 120 เดซิเบล หรือมากกว่านั้น คนเราไม่ควรสัมผัสเสียงดัง 120 เดซิเบลโดยเด็ดขาด


          วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าเราฟังเสียงดังเกินไปแล้ว นั่นคือ หูอื้อ หรือหูมีเสียงดังรบกวนหลังรับเสียง แม้อาจเป็นเพียงชั่วคราว ใจเต้นแรงขณะรับเสียง ในระยะ 1 เมตร คุยกันด้วยเสียงดังก็ยังฟังไม่รู้เรื่อง เริ่มมีประสาทหูเสื่อม ต้องพูดหรือฟังเสียงดังมากกว่าเดิมจึงได้ยิน อารมณ์แปรปรวน ถ้าเป็นเด็กอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว


          ส่วนอาการที่ทำให้สงสัยว่าแก้วหูทะลุจากแรงอัดอากาศ หรือได้ยินเสียงระเบิด หรือประทัดนั้น ให้สังเกตดังต่อไปนี้


          1.หูอื้อและปวดในหู โดยทันทีที่ได้รับแรงกระแทกหรือเสียงดังมาก อาจรู้สึกว่าหูชาไปเลย ก่อนจะรู้สึกปวดหรืออื้อ และเวลาผ่านไป 1 ชม.ก็ยังไม่หายอื้อ ควรรีบไปพบแพทย์


          2.หูอาจมีเสียงดังวิ้ง หรือวี้ และได้ยินไม่ชัด ไม่ยอมหายใน 2-3 ชม. หรือมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มึนงง แสดงว่าแรงกระเทือนไปถึงหูชั้นใน อาจมีเยื่อของหูชั้นในฉีกขาดด้วย ต้องรักษาด่วน


          3.บางรายอาจ "มีเลือดออกมาจากช่องหู" บางรายรู้สึกว่า "หูดับ" ไปทันที ควรพบแพทย์ด่วน อาจมีเลือดออกในหูชั้นในก็ได้ อาจทำให้หูตึงถาวรได้


          4.สำหรับกรณีที่ถูกตบบ้องหู หรือ กกหูอย่างรุนแรง นอกจากจะทำให้ใบหูและเยื่อแก้วหูฉีกขาดแล้ว ถ้าแรงตบหรือแรงกระแทกมากพอ อาจทำให้สะเทือนถึงกะโหลกศีรษะทำให้กะโหลกร้าว หรือสะเทือนถึงสมองทำให้เกิดอาการ "มึนงง", "เวียนศีรษะบ้านหมุน", "เดินเซ", "ซึมลง ตอบสนองช้า" หรือถึงขึ้น "หมดสติ" ได้ จากเลือดตกในสมอง



เสียงดัง

          เมื่อมีอาการดังกล่าวไม่ว่าจะมากหรือน้อย ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้แน่ชัดว่าเยื่อแก้วหูผิดปกติหรือไม่ จะได้รีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ถ้าได้รับการกระทบกระเทือนจนคิดว่าแก้วหูทะลุ หูอื้อปวด ควรรีบไปพบแพทย์หู ไม่ควรไปซื้อยาหยอดหูมาหยอด เพราะจะทำให้แผลทะลุเปียกชื้นและปิดได้ยาก ถ้าเป็นมากแพทย์อาจตรวจการได้ยินเพื่อให้รู้ว่ากระทบกระเทือนถึงกระดูกในหู ชั้นกลาง หรือประสาทรับเสียงหรือไม่ แพทย์อาจให้ยากิน แต่ไม่ใช่ยาหยอด


          ที่ สำคัญคือ การป้องกันไม่ให้แก้วหูบาดเจ็บจากเสียงดัง โดยหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังนานจนเกินไป หรือใช้นิ้วมืออุดหู หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคล เช่น สำลีอุดหู แท่งอุดหู (ear plug) ที่ครอบหูป้องกันเสียง (ear muff)


          กรณีบ้านพักที่เพื่อนบ้านข้างเคียงเป็นสาเหตุของเสียงที่ดังเกินไป ก็ควรขอร้องหรือขอความร่วมมือให้เพื่อนบ้านหรี่เสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำ ให้เกิดอันตรายต่อการได้ยิน และเกิดเหตุรำคาญเกินสมควร หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำการควบคุม และจัดการให้แหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ มีระดับเสียงเบาลงจนถึงระดับที่เราสามารถอาศัยอยู่ได้ โดยไม่ได้รับอันตรายและรำคาญ


          "หู และการได้ยินเป็นสิ่งมีค่า" เป็นอวัยวะละเอียดอ่อนที่ธรรมชาติให้มาเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถได้ยินเสียงกระซิบบอกรักเบา ๆ หรือฟังเสียงนกเล็ก ๆ ร้องจิ๊บ ๆ ได้ ไม่ใช่แค่เพียงได้ยินเสียงตะโกนดัง ๆ ก็พอใจแล้ว


คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก เรื่องเสียงดังและเวลาสัมผัสเสียงที่เหมาะสม เพื่อการได้ยินที่ดี

เสียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ     ความดัง (เดซิเบล) เวลา (ชั่วโมง)
 เสียงนอกบ้าน เดือดร้อนรำคาญ  50-55  16
 เสียงในบ้านเพื่อการได้ยินที่ดี   35  16
 เสียงในห้องนอนไม่ให้รบกวนการหลับ  30  8
 เสียงในห้องเรียน  35   เวลาเรียน
 เสียงในโรงงาน-การจราจร  70  24
 เสียงดนตรีผ่านหูฟัง หูจะเสีย  85  8
 เสียงในพิธีการ งานวัด สถานบันเทิง   100  4
 MP3   105  1

จำนวนผู้เข้าชม